วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่6



 บันทึกอนุทิน           


                 วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                            อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


          วันที่ 19   เดือน มิถุนายน   พ.ศ. 2556

          ครั้งที่ 6     เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

          เวลาเข้าสอน 08.30        เวลาเข้าเรียน 08.30          เวลาเลิกเรียน 11.00





                 ความรู้ที่ได้รับ

       
              ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 

              สามารถสรุปได้ว่า   เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือทำ   เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม

        การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัส จับต้องกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้มาด้วยตนเอง

        อิทธิพลของครอบครัวและบุคคลอื่นๆ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้


             การสอนแบบธรรมชาติ

            สอนแบบบูรณาการ สอนในสิ่งที่เด็กเข้าใจและมีความหมายสำหรับเด็ก สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและ

      อยู่ในชีวิตประจำวัน สอดแทรกการการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนไปพร้อมกับการทำกิจกรรม ไม่

      เข้มงวดกับการท่อง


            การจัดสภาพแวดล้อม  ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียนจะมีเป้าหมายในการใช้จริง

หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม

เหมือนดังในรูปที่ยกตัวอย่างมาข้างล่าง  เมื่อเด็กถามว่า "ช้อน" สะกดยังไง เราควรเขียนให้ เพราะทำให้

เด็กเห็นคำทั้งคำ ไม่ควรสะกด และควรเอารูปมายกตัวอย่าง เพื่อที่จะทำให้เด็กเข้าใจมากขึ้น



รูปช้อน



             การสื่อความหมาย  เด็กสื่อสารโดยที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง   เหมือนดังในรูปถาพข้าง

ล่างที่ยกตัวอย่างมา ทำให้เด็กเข้าใจความของสัญลักษณ์ในรูปผิด



รูปป้ายสัญลักษณ์จราจร






บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่2





บันทึกอนุทิน

วิชา กราจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


            วันที่ 21    เดือน มิถุนายน   พ.ศ. 2556

            ครั้งที่2     เวลาเรียน 08.30-12.20น.

            เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.




  กิจกรรมในคาบนี้


   
           ภาษาหมายถึงการสื่อสาร

  • ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก

  • ภาษาไม่ใช่เพียงแค่คำพูด การออกเสียง แต่อาจจะรวมถึงสภาพแวดล้อม



           ความสำคัญของภาษา  


  • ภาษาเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร


  • ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้


  • ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน


  • ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ เช่น ดนตรี บทกลอน



          ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ เพียเจต์


           การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา

           กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย2กระบวนการคือ

       
           1.การดูดซึม (Assimilation)                          



                เป็นกระบวนการที่เด็กได้เรียนรู้ และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของ

ตนเอง       เช่น สัตว์ที่มีปีก บินได้ เรียกว่า นก


           2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation)

               เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ให้เข้ากับสิ่ง

แวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ   เช่น สัตว์ที่มีปีกบินได้   ปากแหลมๆร้องจิ๊บๆ เราเรียกว่า นก

               เมื่อเกิดการดูดซึมและการเข้าใจ จะเกิดความสมดุล (Equilibrium) กลายเป็นความคิดรบยอดในสมอง

                                                                                      


          เพียเจต์ ได้แบ่งขั้นพัฒนาการด้านสติปัญญา 4ขั้น


            1.  ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimoter Stage) อายุ0-2 ปี


  • เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ


  • เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว

  • เด็กเรียนรู้ สนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวที่จะเรียนรู้ภาษา                                               



           2.ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Prooperationat Stage)


  • อายุ2-4ปี (Preconceptual Period) เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร

          การเล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกทางสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว ภาษาของ

เด็กมี    ลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์ แสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือน

ตน

  • อายุ4-7ปี(Intuitive Period) พูดเก่งพูดมาก

          ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตัวเอง

เป็น   ศูนย์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยการอาศัยการจัดกลุ่มวัตุ สามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง

ของๆ   ได้

                                                                                                                               

             3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage)                




  •   อายุ7-11ปี    เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ โดยใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม


             4.ขั้นคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage)


  • อายุ11-15ปี   เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เข้าใจกฎเกณฑ์ของ
สังคม   สร้างมโนทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม



         พัฒนาการภาษาของเด็ก              


           เด็กจะค่อยๆร้างความรู้และความเข้าใจ เป็นลำดับขั้น ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ

หากพบว่าเด็กใช้คำศัพย์หรือไวยกรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของ

เด็ก    พัฒนาการทางภาษาต้องอาศัยการฝึกฝน


          จิตวิทยาการเรียนรู้                              
                                   



           1.ความพร้อม (ดูจากปูหลังของครอบครัว)     วัย ความพร้อม และประสบการณ์ของเด็ก


           2.  ความแตกต่างระหว่างบุคคล    อิทธิพลทางพันธุกรรม   เช่น เด็กมีโรคประจำตัวตั้งแต่เกิด

     อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม เช่น พ่อแม่ ชุมชน ครอบครัว


           3.การจำ  การเห็นบ่อยๆ การทบทวนเป็นระยะ การจัดเป็นหมวดหมู่ช่วยให้เด็กมีการจัดเรียงได้ถูก

ต้อง การใช้คำสัมผัส เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับสระ ไ- และ ใ- แล้วให้เด็กอ่านกลอน


           4.การให้แรงเสริม    แรงเสริมทางบวก เด็กทำถูกต้อง กล้าแสดงออก ต้องให้รางวัล พยายามให้

ทุกเรื่อง    แรงเสริมทางลบให้ได้ เช่น เมื่อเด็กพูดคำหยาบ เราไม่สมควรชม ควรให้ในรูปแบบการตัก

เตือน สอน





บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่1




                               บันทึกอนุทิน           

                 วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                            อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


          วันที่14  เดือน มิถุนายน   พ.ศ. 2556

          ครั้งที่1     เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

          เวลาเข้าสอน 08.30 น.   เวลาเข้าเรียน 08.30น.      เวลาเลิกเรียน 12.20น.



                                       กิจกรรมในคาบนี้

  •  อาจารย์แนะนำตัว และอธิบายแนวการสอนเกี่ยวกับ วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับ
เด็กปฐมวัย

  •   อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มแล้วทำแผนผังความคิด เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็ก
ปฐมวัย ตามความคิดและความเข้าใจของสมาชิกในกลุ่ม




ผลงานของสมาชิกภายในกลุ่มของดิฉัน



  •   อาจารย์สอนวิธีการสร้างบล็อก แล้วให้นักศึกษากลับไปสร้างบล็อกเป็นของตัวเอง เพราะงานทุก

ชิ้นต้องส่งทางบล็อก
           



บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่3


                               บันทึกอนุทิน           

                 วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                            อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


          วันที่ 28      เดือน มิถุนายน   พ.ศ. 2556

          ครั้งที่ 3     เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

          เวลาเข้าสอน -          เวลาเข้าเรียน -          เวลาเลิกเรียน -



           คาบนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก มีกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม         



ภาพกิจกรรม

                  
ภาพนี้ เป็นภาพที่ชอบมากที่สุด นอนอาบแดดรับวิตตามิน ตอนเที่ยง





   

                      

 ถ่ายรูปกับบัดดี้



แต่งหน้าให้น้อง สวยมั๊ยค่ะ





วี๊ด...บูม ปฐมวัย สู้ๆ




                   
                 
น้องๆ น่ารักกันทุกคนเลย

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที5

   

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน




          วันที่ 12  เดือน กรกฎาคม   พ.ศ. 2556

          ครั้งที่ 5     เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

          เวลาเข้าสอน 08.30 น.   เวลาเข้าเรียน 08.30น.      เวลาเลิกเรียน 12.20น.




                                       กิจกรรมในคาบนี้


                              อาจารย์มอบหมายให้วาดภาพอะไรก็ได้เมื่อนึกถึงตอนเด็ก


ภาพนี้ก็เป็นภาพของกล้วยหอมจอมซนที่ดิฉันรักมากที่สุด


              ด้วยความที่ดิฉันมีลูกสาวคนเดียวคนเดียวในบ้าน พี่น้องคนอื่นๆจะเป็นผู้ชายหมด คุณแม่เลย 

     ซื้อตุ๊กตากล้วยหอมจอมซนให้ ดิฉันรักจะหวงตุ๊กตาสองตัวนี้มาก ไม่ยอมให้คนอื่นแตะต้อง นอกจาก

     แม่ ดิฉันกอดนอนทุกคืน ถ้าไปเที่ยวค้างคืนก็ต้องนำตุ๊กตาไปด้วย ไม่งั้นก็นอนไม่หลับ ส่วนตอนนี้ไม่

     อยู่แล้วมันเน่าและเสียตามสภาพ





บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่4



     บันทึกอนุทิน           



       วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย



   อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน



          วันที่ 5  เดือน กรกฎาคม   พ.ศ. 2556

          ครั้งที่4     เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

          เวลาเข้าสอน 08.30 น.   เวลาเข้าเรียน 08.30น.      เวลาเลิกเรียน 12.20น.




                                       กิจกรรมในคาบนี้

           กลุ่มที่1 พรีเซนต์เรื่อง ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

         กลุ่มที่ 2 พรีเซนท์เรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา

           กลุ่มที่ 3 พรีเซนต์เรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา อายุแรกเกิด-2ปี

           กลุ่มที่ 4 พรีเซ้นต์เรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา อายุ2-4ปี

           กลุ่มที่ 5 พรีเซ้นต์เรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา อายุ4-6ปี

           กลุ่มที่ 6 พรีเซ้นต์เรื่อง ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้

           กลุ่มที่ 7 ยังไม่พร้อมพรีเซ้นต์

           กลุ่มที่ 8 พรีเซ้นต์เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษา

           กลุ่มที่ 9 พรีเซ้นต์เรื่อง องค์ประกอบภาษาด้านภาษา




  ความรู้ที่ได้รับ
   
             ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน การเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องจากความพึงพอใจ

          ทฤษฎีการเลียนแบบ เกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง การเลียนแบบของเด็กเกิดจาก

ความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วงความสนใจของเด็กนั้นสั้นมาก

          ทฤษฎีเสริมแรง เช่น เมื่อเด็กทำความดี ก็ควรชมเชย

          ทฤษฎีการรับรู้

          ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง     

          ทฤษฎีชีววิทยา

          ทฤษฎีการให้รางวัลของพ่อแม่

      ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

             พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น

             ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว

             ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด

             ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม

             ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม

        ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์   ได้แบ่งทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์

แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ

             ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้

สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ

             ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และ

สามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
         ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็น

นามธรรมได้

           ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของกาเย่ 

มีความเชื่อว่า  ลักษณะด้านสติปัญญา มีทักษะย่อย 4 ประการ

           การจำแนกแยกแยะ 

           การสร้างความคิดรวบยอด                                             

           การสร้างกฎ

           การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง