วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่2





บันทึกอนุทิน

วิชา กราจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


            วันที่ 21    เดือน มิถุนายน   พ.ศ. 2556

            ครั้งที่2     เวลาเรียน 08.30-12.20น.

            เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.




  กิจกรรมในคาบนี้


   
           ภาษาหมายถึงการสื่อสาร

  • ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก

  • ภาษาไม่ใช่เพียงแค่คำพูด การออกเสียง แต่อาจจะรวมถึงสภาพแวดล้อม



           ความสำคัญของภาษา  


  • ภาษาเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร


  • ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้


  • ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน


  • ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ เช่น ดนตรี บทกลอน



          ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ เพียเจต์


           การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา

           กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย2กระบวนการคือ

       
           1.การดูดซึม (Assimilation)                          



                เป็นกระบวนการที่เด็กได้เรียนรู้ และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของ

ตนเอง       เช่น สัตว์ที่มีปีก บินได้ เรียกว่า นก


           2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation)

               เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ให้เข้ากับสิ่ง

แวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ   เช่น สัตว์ที่มีปีกบินได้   ปากแหลมๆร้องจิ๊บๆ เราเรียกว่า นก

               เมื่อเกิดการดูดซึมและการเข้าใจ จะเกิดความสมดุล (Equilibrium) กลายเป็นความคิดรบยอดในสมอง

                                                                                      


          เพียเจต์ ได้แบ่งขั้นพัฒนาการด้านสติปัญญา 4ขั้น


            1.  ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimoter Stage) อายุ0-2 ปี


  • เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ


  • เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว

  • เด็กเรียนรู้ สนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวที่จะเรียนรู้ภาษา                                               



           2.ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Prooperationat Stage)


  • อายุ2-4ปี (Preconceptual Period) เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร

          การเล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกทางสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว ภาษาของ

เด็กมี    ลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์ แสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือน

ตน

  • อายุ4-7ปี(Intuitive Period) พูดเก่งพูดมาก

          ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตัวเอง

เป็น   ศูนย์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยการอาศัยการจัดกลุ่มวัตุ สามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง

ของๆ   ได้

                                                                                                                               

             3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage)                




  •   อายุ7-11ปี    เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ โดยใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม


             4.ขั้นคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage)


  • อายุ11-15ปี   เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เข้าใจกฎเกณฑ์ของ
สังคม   สร้างมโนทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม



         พัฒนาการภาษาของเด็ก              


           เด็กจะค่อยๆร้างความรู้และความเข้าใจ เป็นลำดับขั้น ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ

หากพบว่าเด็กใช้คำศัพย์หรือไวยกรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของ

เด็ก    พัฒนาการทางภาษาต้องอาศัยการฝึกฝน


          จิตวิทยาการเรียนรู้                              
                                   



           1.ความพร้อม (ดูจากปูหลังของครอบครัว)     วัย ความพร้อม และประสบการณ์ของเด็ก


           2.  ความแตกต่างระหว่างบุคคล    อิทธิพลทางพันธุกรรม   เช่น เด็กมีโรคประจำตัวตั้งแต่เกิด

     อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม เช่น พ่อแม่ ชุมชน ครอบครัว


           3.การจำ  การเห็นบ่อยๆ การทบทวนเป็นระยะ การจัดเป็นหมวดหมู่ช่วยให้เด็กมีการจัดเรียงได้ถูก

ต้อง การใช้คำสัมผัส เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับสระ ไ- และ ใ- แล้วให้เด็กอ่านกลอน


           4.การให้แรงเสริม    แรงเสริมทางบวก เด็กทำถูกต้อง กล้าแสดงออก ต้องให้รางวัล พยายามให้

ทุกเรื่อง    แรงเสริมทางลบให้ได้ เช่น เมื่อเด็กพูดคำหยาบ เราไม่สมควรชม ควรให้ในรูปแบบการตัก

เตือน สอน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น